การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ กระทรวงแรงงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
2. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน และนำมาทบทวนขั้นตอน ระบบงาน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนงานและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น
3. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิธีการทำงานสำหรับผู้เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ พัฒนาให้การทำงานเป็นมืออาชีพ และใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร รวมทั้งแสดงหรือเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก หรือผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากกระบวนงานที่มีอยู่เพื่อขอการรับบริการที่ตรงกับความต้องการ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่ พิจารณาปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดและพัฒนาส่วนราชการและวิธีการปฏิบัติงาน ตลอดจนบุคคล ให้ทันสมัยและรองรับกับยุทธศาสตร์ และการประเมินส่วนราชการของกระทรวงและกรมให้เป็น ไปตาม มาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
2. คณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่พิจารณาการขอปรับปรุงการจัดและพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนระบบบุคคลให้ทันสมัยและรองรับกับยุทธศาสตร์และการประเมินส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
3. หน่วยงานกลาง หมายถึง ส่วนราชการอื่นนอกสังกัดกระทรวงแรงงาน ที่มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการในภาพรวมของประเทศ ทั้งในด้านงาน เงิน คน และกฎหมาย โดยเข้าร่วมในคณะทำงาน/ คณะกรรมการประกอบด้วย
1) คณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในกรม ประกอบด้วย ผู้แทน สำนักงาน ก.พ./ สำนักงาน ก.พ.ร./ สำนักงบประมาณ/ กระทรวงการคลัง/ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา
2) คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง ประกอบด้วย เลขาธิการ ก.พ.ร./เลขาธิการ ก.พ./ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ/ ปลัดกระทรวงการคลัง/ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3) กรม (ส่วนราชการ) ที่ประสงค์จะขอปรับปรุงโครงสร้าง ทำหน้าที่ จัดทำคำชี้แจงประกอบการขอจัดตั้ง ส่วนราชการเสนอคณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในกรม
4) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ทำหน้าที่
– ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงแรงงาน
– ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน